สนามมวยเวทีลุมพินี

สนามมวยเวทีลุมพินี

สนามมวยเวทีลุมพินี

สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นสนามมวยเวทีมาตรฐานของประเทศไทย เทียบเท่ากับสนามมวยราชดำเนิน เดิมนั้นตั้งอยู่ ณ ถนนพระรามที่ 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงเรียนเตรียมทหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร  สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นแหล่งซูเปอร์สเปรดเดอร์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย จากการแข่งขันศึกลุมพินีแชมเปียนเกียรติเพชรเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

สนามมวยเวทีลุมพินี

ประวัติ

สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นสนามมวยเวทีมาตรฐานของประเทศไทย เทียบเท่ากับสนามมวยราชดำเนิน เดิมนั้นตั้งอยู่ ณ ถนนพระรามที่ 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงเรียนเตรียมทหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร  สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นแหล่งซูเปอร์สเปรดเดอร์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย จากการแข่งขันศึกลุมพินีแชมเปียนเกียรติเพชรเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499 โดย พลตรี ประภาส จารุเสถียร ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ โดยมีการชกมวยนัดแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 ธันวาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมสวัสดิการทหารบก กองทัพบก[1]  สนามมวยเวทีลุมพินี นับได้ว่าเป็นสนามมวยที่มีประวัติแสนยาวนานเช่นเดียวกับสนามมวยราชดำเนินอีกด้วย มีการจัดการชกมวยทั้งมวยไทยและมวยสากล ผ่านการนัดสำคัญ ๆ มาเป็นจำนวนมาก เช่น การชิงแชมป์โลกครั้งแรกของโผน กิ่งเพชร กับปาสคาล เปเรซ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503 เป็นต้น มีการชิงแชมป์ของเวทีทั้งในแบบมวยไทยและมวยสากล ซึ่งผู้ที่ได้แชมป์ของเวทีนี้ก็เสมือนได้แชมป์ของประเทศไทย และมีการเดิมพันแชมป์กับแชมป์ในรุ่นเดียวกันของสนามมวยราชดำเนินเสมอ ๆ  สนามมวยเวทีลุมพินี สามารถจัดเก็บค่าผ่านประตูได้มากถึง 3,000,000 บาท ผู้ชมกว่า 10,000 คน เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 จากการชกกันของพงษ์ศิริ พ.ร่วมฤดี กับไพโรจน์น้อย ส.สยามชัย นับเป็นคู่ที่ 6 ของการชกในวันนั้น จากการจัดของทรงชัย รัตนสุบรรณ[2]  สนามมวยเวทีลุมพินี สมัยอยู่ที่ ถนนพระราม 4 จัดให้มีมวยชกทุกวันอังคาร, ศุกร์ เวลา 18.00 – 22.00 น. และวันเสาร์ เวลา 16.00 – 24.30 น. เว้นวันสำคัญทางศาสนา  ปัจจุบัน สนามมวยเวทีลุมพินี อยู่ที่ ถนนรามอินทรา กม.2 จัดให้มีมวยชกทุกวันอังคาร, ศุกร์ เวลา 18.00 – 23.00 น. และวันเสาร์ เวลา 16.00 – 22.00 น. เว้นวันสำคัญทางศาสนา

วัตถุประสงค์

  •  สนามมวยเวทีลุมพินี เป็นกิจการของกองทัพบก เพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชการกองทัพบก และสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบก ผดุงและส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย สร้างอาชีพให้แก่นักมวยไทยและสากล ให้เป็นอาชีพที่มั่นคงประเภทหนึ่ง สร้างนักมวยสากลแชมป์โลก เพื่อส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติไทย ร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน 

นายสนามมวย

  • พ.ท.เอิบ แสงฤทธิ์ ธ.ค. 2499 – มิ.ย. 2504

  • พ.ท.เทพ กรานเลิศ ก.ค. 2504 – ต.ค. 2504

  • พลจัตวา ขุนชิดผะดุงพล ต.ค. 2504 – ก.ค. 2511

  • พล.ต.ประเสริฐ ธรรมศิริ ก.ค. 2511 – ต.ค. 2515

  • พ.อ.ทองเติม พบสุข ต.ค. 2515 – ก.ค. 2518

  • พ.อ.ชาย ดิษยเดช ก.ค. 2518 – พ.ย. 2522

  • พล.ต.อัสนี สมุทรเสน ธ.ค. 2522 – พ.ค. 2525

  • พล.ต.สวัสดิ์ ศิริผล มิ.ย. 2525 – ก.ย. 2528

  • พล.ต.ทวีวิทย์ นิยมเสน ต.ค. 2528 – ก.ย. 2531

  • พล.ต.ชลอ คงสุวรรณ ต.ค. 2531 – ก.ย. 2534

  • พล.ต.วรพงศ์ สังวรราชทรัพย์ ต.ค. 2534 – ธ.ค. 2537

  • พล.ท.วัฒน์ เกิดสว่าง ธ.ค. 2537 – ก.ย. 2541

  • พล.ต.วันชัย นิลเขียว ต.ค. 2541 – ก.ย. 2544

  • พล.ต.อนันต์ศักดิ์ ลักษณลม้าย ก.ย. 2544 – 21 มี.ค. 2547

  • พล.ต.ไพโรจน์ รัฐประเสริฐ 1 เม.ย. 2547 – 31 มี.ค. 2548

  • พล.ต.กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธุ์ 1 เม.ย. 2548 – ก.ย. 2550

  • พล.ต.ธีระ ไกรพานนท์ ต.ค. 2550 – ก.ย. 2551

  • พล.ต.เฉลิมเกียรติ โพธิ์ทองนาค 2 ต.ค. 2551 – 2553

  • พล.ต.สุรไกร จัตุมาศ พ.ศ. 2553 – 2557

  • พล.ท.บุญสันติ แสนสวัสดิ์ พ.ศ. 2557 – 2558 พล.อ.ระ

  • พีศักดิ์ ธนะพัฒน์ พ.ศ. 2558

  • พล.ต.เกษม เบญจนิรัติศัย พ.ศ. 2558 – 2560

  • พล.ต.ศุภณัฐ แก้วหิรัญ พ.ศ. 2560 – 2561

  • พล.ต.ชวเมธ จุ้ยเจริญ พ.ศ. 2561 – 2562

  • พล.ค.เดชอุดม นิชรัตน์ พ.ศ. 2562

  • พล.ต.ราชิต อรุณรังษี พ.ศ. 2562 – 2563 (ถูกปลดออกจากราชการ เนื่องจากกรณีการจัดแข่งขันศึกลุมพินีแชมเปียนเกียรติเพชร เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 นำไปสู่การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก)[3] พล.ท.สุชาติ แดงประไพ พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

เพิ่มเติม :: วิเคราะห์มวย
ติดตาม  :: บทความมวยไทย